สร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับธุรกิจ

การกำกับดูแลกิจการ

บริษัทตระหนักถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดี และเชื่อว่าการกํากับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานของบริษัทมีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และช่วยให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น บริษัทจึงได้จัดทําหลักการกํา กับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท (Corporate Good Governance) ขึ้น โดยยึดตามแนวทางหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีสําหรับ บริษัทจดทะเบียน ปี 2560 ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สํานักงาน ก.ล.ต.) เพื่อใช้ เป็นแนวทางสําหรับคณะกรรมการบริษัทในการกํากับดูแลให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาว น่าเชื่อถือสําหรับผู้ถือหุ้น และนักลงทุน ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) ในการนี้ บริษัท มุ่งหมายที่จะประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มีจริยธรรมในการดําเนินงาน ประกอบธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม พัฒนา หรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจได้

การกำกับดูแลกิจการ

มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนด้วยธรรมาภิบาล

แนวทางและหลักการของเรา

ภาพรวมของนโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการ

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สามารถเอื้อประโยชน์ ให้กับบริษัท เป็นอย่างดี แต่ละท่านปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ให้คําชี้แนะ คําทักท้วง ที่ทรงคุณค่า เน้นย้ําและสอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ทั้งนี้มี การกําหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ ตามหัวข้อดังต่อไปนี้คือ

  • องค์ประกอบ คุณสมบัติ และการแต่งตั้งกรรมการของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติต้องห้ามที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • บทบาท อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะองค์คณะทั้งกรรมการบริษัท และกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย
  • การตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อสนับสนุนการทํางานได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง คณะกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหาร
  • การจัดประชุมคณะกรรมการ ให้มีความสะดวก มีข้อมูลที่เพียงพอ เพื่อที่จะระดมความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เลขานุการบริษัท ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทเพื่อทําหน้าที่สื่อสารระหว่างคณะกรรมการ บริษัท ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นอย่างครบถ้วนและถูกต้อง

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้ถือหุ้นมีฐานะเป็นเจ้าของบริษัทเป็นหลักสำคัญในการกำหนดทิศทางของบริษัท โดยการใช้สิทธิต่างๆ ที่ พึงมีเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย บริษัทมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้คือ

  • การเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิได้ตาม จำนวนหุ้นที่ตนเองถือ ได้แก่ การลงคะแนนในวาระต่างๆ ที่ต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุม และ ซักถามถึงข้อสงสัยสำหรับการดำเนินงานของบริษัท
  • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน แม้ว่าจะถือหุ้นไม่เท่ากันและมีสิทธิออกเสียงไม่เท่ากัน ผู้ถือหุ้น ทุกรายมีสิทธิพื้นฐานในฐานะผู้ถือหุ้นเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึง เพศ อายุ เชื้อชาติ สัญชาติ ความเชื่อถือในสังคม หรือความคิดเห็นทางการเมือง ทั้งนี้บริษัทจะให้โอกาสในการเสนอวาระการประชุม เพิ่มเติม เสนอชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการ ผ่านเว็บไซด์ของบริษัท บริษัทจะอำนวยความสะดวกตามสมควรให้ผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมการประชุม ตลอดจนการมอบฉันทะ
  • บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งประกอบด้วย 6 กลุ่ม ดังนี้คือ
    • ผู้ลงทุน บริษัทมุ่งที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีและกิจการมีการเติบโตอย่างมั่นคง
    • พนักงาน สนับสนุนให้มีการทำงานอย่างมืออาชีพ มีความก้าวหน้าและมีคุณภาพชีวิต ในการทำงาน
    • ลูกค้า ได้รับความพึงพอใจจากผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีราคาสมเหตุสมผล
    • คู่ค้า ดำเนินธุรกิจด้วยกันบนพื้นฐานความเป็นธรรม มีความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว
    • สังคมและชุมชน บริษัทเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และมีการบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    • ภาครัฐ กิจการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด และในฐานะผู้เสียภาษี ที่นำไปพัฒนาชาติบ้านเมือง
  • นโยบายการกำกับดูแลและการใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading)

    บริษัทกำหนดให้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. และกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับ การซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทโดยใช้ข้อมูลภายในของบริษัท โดยกำหนดแนวทางในการกำกับดูแลการใช้ ข้อมูลภายในของบริษัท ดังนี้

    • กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัท และบุคคลภายนอกที่มาปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งรู้หรือครอบครอง ข้อมูลภายในของบริษัท จะต้องปฏิบัติตนดังนี้ (1) เก็บรักษาข้อมูลภายในของบริษัทด้วยความ ระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลภายใน ของบริษัทรั่วไหลออกไปภายนอก (2) ไม่เปิดเผยข้อมูล ภายในของบริษัทแก่บุคคลอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการนำข้อมูลภายใน ไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
    • กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัท และบุคคลภายนอกที่มาปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งรู้หรือครอบ ครองข้อมูลภายในของบริษัท จะต้องปฏิบัติตามมาตรการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการใช้ข้อมูลภายในโดยมิชอบ
    • บริษัทต้องจัดให้มีระบบการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในที่ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูล ภายในดังกล่าวจะไม่รั่วไหล และไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ไม่ว่าเพื่อ ตนเองหรือบุคคลอื่น
    • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฏบัตร จรรยาบรรณ และ คู่มือบรรษัทธรรมภิบาลของบริษัท และแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยรายงานการถือ และการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของตน คู่สมรส หรือผู้ที่อยู่กิน ด้วยกันฉันสามีภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามที่กำหนดในใช้ข้อมูลภายในพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม) (“พ.ร.บ. หลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม) รวมถึงกฎเกณฑ์อื่นใดที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
    • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ถือเป็นการทำผิดวินัย ที่ต้องรับโทษตามการพิจารณาของคณะกรรมการบริษัท และอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมาย เพื่อลดปัญหาการหลงลืมหรือตกหล่นของกรรมการในการรายงานการถือและเปลี่ยนแปลง การถือหลักทรัพย์โดยกำหนดให้เลขานุการบริษัทมีหน้าที่ในการส่งจดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์แบบ ตอบรับไปยังกรรมการทุกท่านเพื่อแจ้งเตือนการจัดทำรายงานดังกล่าว
  • นโยบายทรัพย์สินทางปัญญา

    บริษัทมีนโยบายในการปกป้อง และเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น โดยจะไม่ ละเมิดหรือสนับสนุนการดำเนินการใดๆ ที่มีลักษณะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นลิขสิทธิ์สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า และสิทธิทางปัญญา อื่นๆ ทุกประเภท

    บริษัทจะสนับสนุน และส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์กระตุ้นการรเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นอยู่เสมอ โดยจะไม่ทำซ้ำ ดัดแปลงคัดลอก ทำสำเนา เผยแพร่ หรือกระทำ การอื่นใดอันเป็นการละเมิดสิทธิใน ทรัพย์สินทำงปัญญาของบุคคลอื่น

    บริษัทจะมีกำรตรวจสอบการใช้ข้อมูล เอกสาร สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งงานอันมีสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาใดๆ ด้วยความระมัดระวังว่าได้รับอนุญาตการใช้จากผู้มีสิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่ จะมีการใช้งานนั้นๆ รวมถึงจะอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล หรือชื่อเจ้าของงานอันมีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

    บริษัทจะสนับสนุนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นกำรปกป้องงานอันมีสิทธิในทรัพย์สินทาง ปัญญาของบุคคลอื่น รวมถึงส่งเสริมให้พนักงำนมีความรู้และมีจิตสำนึกในการเคารพสิทธิในทรัพย์สินทาง ปัญญาของบุคคลอื่นอย่างสม่ำเสมอ

    งานอันมีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆที่ได้สร้างสรรค์ และ/หรือพัฒนาขึ้นโดยพนักงานของ บริษัทไม่ว่าจะทำขึ้นโดยหน้าที่ที่ต้องพึงปฏิบัติและ/หรือกระทำตามคำสั่งของบริษัท สิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาดังกล่าวให้ตกเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัททั้งสิ้น

  • นโยบายสิทธิมนุษยชน

    บริษัทฯ พิจารณามีนโยบายสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้เป็นกรอบในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษย ชนและแนวปฏิบัติในการดําเนินงานของบริษัทฯ และกิจการที่บริษัทฯ มีอํานาจบริหารจัดการในทุกกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานหรือแรงงาน ห่วงโซ่อุปทาน ชุมชนและสังคม นอกจากนี้บริษัทมีเจตนารมณ์ที่จะ ส่งเสริมให้บริษัทร่วมทุน หุ้นส่วนธุรกิจคู่ค้าและผูท้ี่เกี่ยวขอ้งอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ และ กิจการที่บริษัทฯ มีอํานาจบริหารจัดการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศดำเนินงานบนพื้นฐานของหลัก การเคารพสิทธิมนุษยชน โดยนํานโยบายฉบับนี้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ตามความ เหมาะสม

  • นโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน

    บริษัทได้กำหนดให้ผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแสสามารถร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสมายังบริษัท ได้ผ่านช่องทางที่บริษัทกำหนด ได้แก่

    • ไปรษณีย์ : ระบุหน้าซองถึงประธานกรรมการตรวจสอบ ส่งมายังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์จำกัด (มหาชน) เลขที่ 4, 95-96 ถนนพระราม 2 ตำบลโคกขาม อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
    • เว็บไชต์ : www.permsinsteel.com
    • กล่องรับข้อเสนอแนะ / ความคิดเห็น / ข้อร้องเรียนภายในบริษัท

    หากตรวจสอบแล้วพบว่า ในกรณีที่เป็นการร้องเรียนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทําการอันทุ จริต หรือผิดกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อพึงปฏิบัติหรือจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท ให้ผู้มีหน้าที่ ตรวจสอบของบริษัท พิจารณาเสนอข้อร้องเรียนดังกล่าวพร้อมความเห็นต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และ คณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณารับทราบ สั่งการ และกำหนดแนวทางในการดำเนินการแก้ไข พร้อมทั้ง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ภายหลังจาก ที่คณะกรรมการสอบสวนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการสอบสวนจะเสนอแนวทาง ในการดำเนินการต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาสั่งการและกำหนด แนวทางในการดำเนินการแก้ไข และพิจารณากำหนดบทลงโทษต่อไป ในกรณีที่ข้อร้องเรียนดังกล่าว ก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดผู้หนึ่งผู้ตรวจสอบฯจะเสนอวิธีการบรรเทาความเสียหายที่เหมาะสม และเป็น ธรรมให้กับผู้เสียหายตามที่เห็นสมควรก็ได้

จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

คณะกรรมการบริษัทจัดทำคู่มือจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ( Codeof Conduct ) เพื่อกำหนดเป็นพื้นฐานสำหรับ การปฏิบัติงานในหน้าที่ และการปฏิบัติตามวิชาชีพ ภายใต้กรอบของกฎหมายและระเบียบของบริษัท โดยสารสำคัญมีดังนี้ คือ

จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย

  • ยึดหลักนิติธรรม
  • มีความโปร่งใส
  • ตั้งมั่นในความยุติธรรมและความมีคุณธรรม
  • ให้ความสำคัญต่อลูกค้า
  • มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ข้อพึงปฏิบัติทางจริยธรรม ประกอบด้วย

  • มีภาวะผู้นำ
  • มีความซื่อสัตย์สุจริต
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
  • รักษาทรัพย์สิน
  • การปฏิบัติตนต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา
  • เป็นพลเมืองดี
  • ไม่รับสิ่งตอบแทนเกินวิสัย
  • ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ไม่ใช้ข้อมูลจำเพาะเพื่อประโยชน์ในทางมิชอบ

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญของนโยบาย แนวปฏิบัติ และระบบการกำกับดูแล กิจการในปี 2566

ในปี2566 ที่ผ่านมา บริษัทมีการทบทวนนโยบายแต่ละนโยบาย กฎบัตรต่างๆ และกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของผู้บริหารหลักของกิจการ เพื่อสอบทานระบบการกำกับดูแลกิจการของบริษัทอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการพัฒนาและจัด ทำเป็นลายลักษณ์อักษรในปี2565 โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ซึ่งกำหนดให้มีการทบทวนเป็นประจำทุกปีซึ่งปรากฏว่ามีการเพิ่มเติม หรือแก้ไขและปรับปรุง 2 นโยบายดังต่อไปนี้

  • นโยบายสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทฯ ประชุมพิจารณากำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นคำมั่นว่าจะยึดถือปฏิบัติ สนับสนุนและส่งเสริมการเคารพและปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานของบริษัทฯ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศหลักการสิทธิมนุษยชนสากล และ หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับภาคธุรกิจ ครอบคลุมถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หลักการ ชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน กรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่ง สหประชาชาติและปฏิญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ
  • นโยบายทรัพย์สินทางปัญญา โดยบริษัทฯ ประชุมพิจารณานโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งบริษัทฯ ให้ ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่า ที่พนักงานต้องปกป้องและดูแลให้พ้นจากการนำไปใช้หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งต้องเคารพและ ไม่ละเมิดในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น คณะกรรมการบริษัทจึงเห็นสมควรกำหนดนโยบายทรัพย์สินทาง ปัญญาขึ้น โดยให้พนักงานทำความเข้าใจและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

สำหรับนโยบายต่างๆ ที่ประกาศใช้จะมีการประกาศในเว็บไซด์ของกิจการ และติดประกาศในองค์กรให้เป็นที่ ทราบโดยทั่วกัน นอกจากนี้ยังกำหนดให้พนักงานทุกคนจะต้องลงนามรับทราบและถือปฏิบัติ ซึ่งคณะกรรมการบริษัท กำหนดให้มีการประเมินความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของพนักงานตั้งแต่ระดับหัวหน้าหน่วยขึ้นไปเพื่อความถูกต้อง ในการแนะนำและกำกับผู้ใต้บังคับบัญชา และคณะกรรมการบริษัทจะทำการทบทวนเพื่อปรับปรุงให้นโยบาย กฎบัตร และขอบเขตอำนาจหน้าที่เหมาะสมกับการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ